QR Code ย่อมากจาก Quick Response Code สามารถเก็บข้อมูลได้ทั้งตัวอักษร ตัวเลข และ Binary ปัจจุบันสามารถใช้งาน QR Code ได้หลากหลายรูปแบบ จากเดิมที่ต้องพิมพ์ข้อมูลก็เปลี่ยนมาเป็นการถ่ายภาพ QR Code

การโฆษณาประชาสัมพันธ์และการสื่อสารในระบบออนไลน์ด้วย QR Code

21

QR Code คือ รหัสสองมิติที่สามารถบันทึกข้อมูล เช่น ตัวหนังสือ ตัวเลข ภาพต่างๆ ได้โดยรหัสถูกจัดไว้ในรูปแบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส QR Code สามารถอ่านข้อมูลได้รวดเร็วกว่าและใช้งานง่ายกว่ารหัสแท่ง ที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน การเก็บข้อมูลก็สามารถเก็บข้อมูลได้มากกว่า bar code ในขณะที่ bar code สามารถเก็บข้อมูลได้ประมาณ 20 อักขระ QR Code สามารถเก็บข้อมูลตัวเลข ตัวอักษร 2,953 binary bytes, เก็บอักขระ Kanji ได้สูงสุด 1,817 อักขระ รหัสแท่ง โดยมากใช้ในวงจำกัดของงาน logistics สำหรับการคำนวณ การสำรวจสินค้า เป็นต้น แต่ QR Code นำมาใช้ในวงกว้าง นำมาใช้ในการสื่อสารข้อมูล การตลาด การประชาสัมพันธ์และการทำธุรกิจ นามบัตร บริษัท Denso Wave ของญี่ปุ่น ได้ประดิษฐ์ QR Code ขึ้นมาใช้ใน ปี ค.ศ. 1994และได้ขึ้นทะเบียนลิขสิทธิ์ชื่อ QR Code และเป็นรหัสมาตรฐานสากลของ ISO ในปี ค.ศ. 2000 เปิดให้ใช้ทั้งประเทศญี่ปุ่นและทั่วโลกและมีการนำมาใช้ในวงการต่างๆ เช่น วารสารธุรกิจ ขายสินค้า หรือขนส่งเพื่อการโฆษณาประชาสัมพันธ์และการสื่อสารในระบบออนไลน์

ศูนย์สนเทศและหอสมุดเห็นความสำคัญของรหัส 2 มิติ หรือ QR Code นี้ จึงนำมาบันทึก URL ของบริการต่างๆ ของศูนย์สนเทศและหอสมุดทั้ง 11 บริการ เพื่อให้ผู้ใช้บริการ คือ อาจารย์ นักศึกษา บุคลากรและสมาชิกภายนอก สามารถเข้าใช้บริการได้ถึงแม้ไม่ได้อยู่หน้าคอมพิวเตอร์ แต่เข้าใช้บริการโดยผ่านโทรศัพท์มือถือ สแกน QR Code ซึ่งเก็บข้อมูล URL ทั้ง 11 บริการ เก็บไว้บนโทรศัพท์มือถือและเลือกใช้บริการโดยคลิก QR Code ที่ต้องการก็จะเชื่อมไปยังหน้าโฮมเพจของบริการนั้นๆ โทรศัพท์มือถือที่จะนำมาใช้นี้ ต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้ มีกล้องถ่ายรูปได้มีโปรแกรมอ่าน QR Code (โปรแกรมอ่านรหัส QR สามารถโหลดมาติดตั้งได้ฟรี เช่น The Kaywa Reader, QuickMark) ใช้อินเทอร์เน็ตโทรศัพท์จะต้องมีระบบปฏิบัติการ Window mobile หรือ symbian version 6 ขึ้นไป หรือระบบ Java  แต่ถ้าเป็นโทรศัพท์รุ่นใหม่ เช่น IPhone  สามารถใช้ได้เลย

Comments are closed.

Post Navigation